เราเองAnny

om%2Fdata%2Ffeed%2Fapi%2Fuser%2F104202194774103152752%2Falbumid%2F5702937388036934929%3Falt%3Drss%26kind%3Dphoto%26hl%3Dth" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer">

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ASEAN+6

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับ 6 ประเทศ(Comprehensive Economic Partnership in East Asia: CEPEA)

ความเป็นมา
 §  ใ       ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI) และ AEM+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม 2549 ญี่ปุ่นเสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาควิชาการ (Track II) ของกลุ่มประเทศ East Asia Summit (EAS ประกอบด้วยอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Comprehensive Economic Partnership in East Asia (CEPEA) ซึ่งเป็น FTA ระหว่าง ประเทศอาเซียน+6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์)

    §  ที่ประชุม EAS ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2550 ณ เมืองเชบู ประเทศฟิลิปปินส์ มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาดังกล่าว โดยญี่ปุ่นจะจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2550

   §  กลุ่มผู้เชี่ยวชาญฯ ของ CEPEA (รศ. ดร. สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ ประธานศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญฯ ฝ่ายไทย) ได้ทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) โดยมีการประชุมร่วมกันทั้งหมด 6  ครั้ง
                        ครั้งที่ 1  เมื่อวันที่ 15-16 มิถุนายน 2550 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
                        ครั้งที่ 2  เมื่อวันที่ 3-4 สิงหาคม 2550 ที่โอ๊กแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์
                        ครั้งที่ 3  เมื่อวันที่ 26-27 ตุลาคม 2550 ที่กรุงเทพฯ
                        ครั้งที่ 4  เมื่อวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2551 ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย
                        ครั้งที่ 5  เมื่อวันที่ 18-19 เมษายน 2551 ที่ประเทศฟิลิปปินส์
                        ครั้งที่ 6  เมื่อวันที่ 19-20 มิถุนายน 2551 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

§  ผู้เชี่ยวชาญฯ ได้สรุปผลการศึกษา (Final report of CEPEA Track Two: Phase I) และนำเสนอต่อที่ประชุมผู้นำเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS) ในเดือนธันวาคม 2551 ณ กรุงเทพฯ   โดยระบุว่าการจัดทำ CEPEA นั้น จะทำให้ GDP ของประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% โดยในส่วนของอาเซียนนั้น จะได้รับประโยชน์มากกว่าโดย GDP ของอาเซียน เพิ่มขึ้น 3.83% ในส่วนของไทย GDP จะเพิ่มขึ้นเท่ากับ 4.78%

§  นอกจากนี้ ผลการศึกษาได้ครอบคลุมประเด็นอื่นๆสำคัญ ได้แก่ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ องค์ประกอบของ CEPEA ซึ่งประกอบด้วย  การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน   ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ พลังงานและสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ ได้เสนอแนะแนวทางสู่การทำเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก โดยเสนอให้ประเทศสมาชิกต้องเริ่มที่เข้าใจหลักพื้นฐานและเป้าหมายของ CEPEA อันจะมุ่งไปสู่การเปิดเสรี การอำนวยความสะดวก และความร่วมมือระหว่างกัน



ผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน+6 หรือ CEPEA (Comprehensive Economic Partnership in East Asia) ระยะที่ 1 (รายละเอียด)


§  ต่อมาที่ประชุม AEM ครั้งที่ 40 และ AEM-METI Consultations ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 25-28 สิงหาคม 2551 ณ ประเทศสิงคโปร์มีมติเห็นชอบและสนับสนุนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาต่อในระยะที่ 2 (CEPEA Track Two Study Group: Phase IIโดยเน้น 3 เสาหลัก คือ ด้านความร่วมมือ (Cooperation) ด้านการอำนวยความสะดวก (Facilitation) และการเปิดเสรี (Liberalization)นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการศึกษา CEPEA Phase II โดยให้ครอบคลุมถึงการศึกษาวิเคราะห์ในความตกลง ASEAN+1 FTAs ที่มีอยู่ รวมไปถึงกฎ Special & Differential Treatment ที่มีประสิทธิภาพ แนวทางของการเปิดเสรี (Liberalization) และการอำนวยความสะดวก (Facilitation) ที่เหมาะสมซึ่งนำไปสู่แนวทางที่จะช่วยลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก และระบุแนวทางด้านความร่วมมือต่างๆ ที่ช่วยสร้างความสามารถ (Capacity) ของประเทศสมาชิก เพื่อรองรับการเปิดเสรีภายใต้อาเซียน+6 (CEPEA)

§  การศึกษา CEPEA Track Two Study Group: Phase II นั้น ได้มีการประชุมทั้งหมด 4 ครั้ง
            ครั้งที่ 1  เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
            ครั้งที่ 2  เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่โอ๊กแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์
            ครั้งที่ 3  เมื่อวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2552 ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
            ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

§  ผู้เชี่ยวชาญฯ ได้สรุปผลการศึกษา CEPEA Phase II (Final report of CEPEA Track Two: Phase II) และนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 41 (41st AEM) ณ กรุงเทพ ระหว่างวันที่ 13-16 สิงหาคม 2552 โดยผู้เชี่ยวชาญฯ มองว่าCEPEA ควรให้ความสำคัญในเรื่องความร่วมมือ (Cooperation) เป็นอันดับแรก เพื่อมุ่งลดช่องว่างระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศสมาชิก โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer of Technology) และสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และที่สำคัญคือการสร้าง Capacity Building ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รวมทั้งควรพิจารณาจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก (East Asia Fund) เพื่อช่วยรองรับโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นและสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อไป    

ผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน+6 หรือ CEPEA (Comprehensive Economic Partnership in East Asia) ระยะที่ 2 (รายละเอียด)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น