เราเองAnny

om%2Fdata%2Ffeed%2Fapi%2Fuser%2F104202194774103152752%2Falbumid%2F5702937388036934929%3Falt%3Drss%26kind%3Dphoto%26hl%3Dth" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer">

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ASEAN+3

ความตกลงเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก (East Asia Free Trade Area: EAFTA)

ความเป็นมา
§  ใ       ในการประชุม Informal ASEAN Summit ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำอาเซียนและประเทศ+3 (จีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น) ได้มีแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออก (1st Joint Statement on East Asia Cooperation) เพื่อประกาศเจตนารมณ์อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันด้านการเมือง เศรษฐกิจ การเงิน สังคม วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการพัฒนา ซึ่งนับได้ว่าเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญของการพัฒนาความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศ+3 (จีน เกาหลี ญี่ปุ่น)


§               ผู้นำอาเซียน+3 ได้ให้ความเห็นชอบการจัดตั้งกลุ่มวิสัยทัศน์เอเชียตะวันออก East Asia Vision Group (EAVG) ขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2542 ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และภาคเอกชน (ไม่รวมภาครัฐ) เพื่อระดมความคิดและแสวงหาแนวทางการขยายความร่วมมือระหว่างกัน

§  ต่อมา ในการประชุมผู้นำอาเซียน+3 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2544 ณ กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไนฯ ที่ประชุมได้พิจารณาจัดตั้งกลุ่มศึกษาเอเชียตะวันออก (East Asia Study Group: EASG) ขึ้นประกอบด้วยเจ้าหน้าที่อาวุโสภาครัฐเท่านั้น เพื่อประเมินนัยสำคัญของข้อเสนอแนะต่างๆ ของ EAVG

§   EASG ได้พิจารณาข้อเสนอแนะต่างๆ ของ EAVG และได้คัดเลือกมาตรการที่เห็นว่า เป็นมาตรการที่สามารถดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมได้ (Implementable concrete measures) โดยจัดกลุ่มเป็นมาตรการระยะสั้น 17 มาตรการ และมาตรการระยะปานกลางถึงระยะยาว 9 มาตรการ

§  ในการประชุม ASEAN+3 Summit เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ณ กรุงเวียงจันทร์ ผู้นำอาเซียน+3 ได้แลกเปลี่ยนความเห็นในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก (East Asia Free Trade Area) และเห็นชอบตามมติของที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน+3 (AEM+3) ให้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert group) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก (EAFTA) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 9 มาตรการระยะปานกลางถึงระยะยาว ที่เป็นข้อเสนอแนะของกลุ่มวิสัยทัศน์เอเชียตะวันออก East Asia Vision Group (EAVG)  ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน+3

§  กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการจากสถาบันหรือมหาวิทยาลัยซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านเอเชียศึกษา จาก 13 ประเทศสมาชิก (ผู้เชี่ยวชาญของไทย ได้แก่ รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์เอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนางสาวพูลศรี คุลีเมฆิน นักวิชาการพาณิชย์ 9 ชช. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) ซึ่งได้มีการประชุมกันทั้งหมด 4 ครั้ง                     
                        ครั้งที่ 1  เมื่อเดือนเมษายน 2548 ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน 
                        ครั้งที่ 2  เมื่อเดือนกันยายน 2548 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
                        ครั้งที่ 3  เมื่อเดือนเมษายน 2549 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
                        ครั้งที่ 4  เมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน 

§  ผู้เชี่ยวชาญฯ ได้สรุปผลการศึกษา “Towards an East Asia FTA: Modality and Roadmap”  (Final report  of EAFTA: Phase I) โดยผู้เชี่ยวชาญฯ ระบุว่าการจัดทำ EAFTA นั้น จะทำให้ GDP  ของประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.2% และสวัสดิการทางเศรษฐกิจ (Economic Welfare) เพิ่มขึ้น 104.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในส่วนของอาเซียนนั้น จะได้รับประโยชน์มากกว่าโดย GDP ของอาเซียน เพิ่มขึ้น 3.6% ขณะที่จีน เกาหลี ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.9 ในส่วนของไทย GDP จะเพิ่มขึ้นเท่ากับ 4.5% และ Economic Welfare เพิ่มขึ้น 8,798 ล้านเหรียญสหรัฐ

ผลการศึกษา “Towards an East Asia FTA: Modality and Roadmap” (East Asia Free Trade Area: EAFTA ระยะที่ 1)(รายละเอียด)

§  ต่อมาที่ประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ครั้งที่ 10 (The 10th ASEAN plus Three Summit) เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550 ที่เซบู ประเทศฟิลิปปินส์ได้เห็นชอบข้อเสนอของเกาหลีที่จะให้มีการศึกษาเพิ่มเติมในขั้นที่ 2 (EAFTA Phase II) โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญฯ ของ EAFTA (รศ. ดร. สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ ประธานศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญฯ ฝ่ายไทย) ได้ทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีเอเชียตะวันออก (EAFTA) ระยะที่ 2 ซึ่งมีการประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง
                        ครั้งที่ 1   เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2550 ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี
                        ครั้งที่ 2  เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
                        ครั้งที่ 3   เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2551 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
                        ครั้งที่ 4   เมื่อวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2551 ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
                        ครั้งที่ 5   เมื่อวันที่ 6-7 มิถุนายน 2552 ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

§  ผลการศึกษา EAFTA Phase II นั้นได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีเอเชียตะวันออก (EAFTA) ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ รวมถึงเสนอแนะแนวทางการรวมกลุ่ม ทั้งนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เน้นความสำคัญในเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (ROOs)โดยกล่าวว่าความแตกต่างของ ROOs ในแต่ละความตกลง ASEAN+1 นั้น ก่อให้เกิดอุปสรรคแก่ผู้ประกอบการ ดังนั้น การรวมกฎให้เป็นหนึ่งเดียว (unified ROOs regime) ภายใต้ EAFTA จะช่วยลดTransaction cost สำหรับผู้ประกอบในการส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออก

§  นอกจากนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญฯ มองว่าระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศสมาชิก ถือเป็นอุปสรรคในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ดังนั้น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้ EAFTA จึงมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งจะต้องครอบคลุมสาขาความร่วมมืออย่างกว้างขวางโดยรวมสาขาความร่วมมือที่มีอยู่ทั้งหมดในภูมิภาค โดยเฉพาะ Capacity building ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human resource development) และการถ่ายทอดเทคโนโลยี(Transfer of technology)


§  นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เสนอให้เริ่มมีการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีเอเชียตะวันออก (East Asia Free Trade Area: EAFTA) อย่างช้าสุดภายในปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ.2012)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น