เราเองAnny

om%2Fdata%2Ffeed%2Fapi%2Fuser%2F104202194774103152752%2Falbumid%2F5702937388036934929%3Falt%3Drss%26kind%3Dphoto%26hl%3Dth" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer">

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

ขนมทองหยอด

  ขนมทองหยอด


ส่วนผสม
ไข่เป็ด                 ๑๐      ฟอง
แป้งทองหยอด     ๑/๔     ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย              ๗       ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกมะลิ        ๖       ถ้วยตวง
วิธีทำ
        ๑. ผสมน้ำ น้ำตาลทราย ตั้งไฟให้เดือดพอเหนียว ตักน้ำเชื่อมขึ้นไว้ สำหรับลอยทองหยอด ที่เหลือตั้งไฟ
             ต่อไปให้น้ำเชื่อมเหนียว
        ๒. แยกไข่แดง ไข่ขาว
        ๓. ตีไข่แดงให้ขึ้น ค่อยๆใส่แป้งทองหยอดแล้วคนให้เข้ากัน
        ๔. หยอดไข่ที่ตีแล้วลงในน้ำเชื่อมที่ตั้งอยู่บนไฟ ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาวงเป็นตัวกำหนด ต้องการลูกเล็กหรือใหญ่
่             ตามใจชอบ  นิ้วหัวแม่มือจะเป็นนิ้วที่ช่วยรูดแป้งลงที่ปลายนิ้ว แล้วจึงสะบัดไข่ลงในน้ำเชื่อม
        ๕. เมื่อทองหยอดสุกลอยขึ้น ตักไส่น้ำเชื่อมสำหรับลอย

มีลักษณะแปลกคือมีส่วนหนึ่งเป็นผาชะโงกยื่นออกมาเหมือหัวเรือสำเภา ลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาสลับซับซ้อนประกอบด้วยเขาหินทรายและหินแกรนิตสลับกันสัตว์ป่าที่พบเห็น ได้แก่ หมี เก้ง หมาใน ไก่ฟ้าพญาลอ เต่าปูลู อุทยานภูเรืออยู่บนยอดเขาสูงทำให้มีอากาศเย็นตลอดปีและเป็นอุทยานที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดในประเทศ จนกระทั่งน้ำค้างบนยอดหญ้าแข็งตัวกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็งซึ่งภาษาพื้นบ้านเรียกว่า “ แม่คะนึ้ง ”อุทยานฯมีเนื้อที่ประมาณ 75,525 ไร่ ช่วงเดือนที่เหมาะสมสำหรับการเดินทางมาท่องเที่ยวคือ เดือน ตุลาคม-มีนาคม

สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ ได้แก่ จุดชมทิวทัศน์เดโช เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นในวันที่อากาศดีนักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นภูต่างๆของเมืองเลยได้ ผาโหล่นน้อย อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามมากจากจุดนี้จะมองเห็นภูหลวง ภูผาสาด ภูครั่ง และทะเลภูเขาสลับซับซ้อน ผาซับทอง หรือ ผากุหลาบ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 2.5 กิโลเมตร เป็นหน้าผาสูงชันและแหล่งน้ำซับที่มีพืชน้ำไลเคนสีเหลืองคล้ายสีทองขึ้นเต็มอยู่ทั่วบริเวณ น้ำตกห้วยไผ่ ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ไหลลงมาจากหน้าผาสูงชันมีความสูงประมาณ 30 เมตร น้ำตกแห่งนี้นำไปใช้ทำเป็นประปาในอำเภอภูเรือด้วย ยอดภูเรือ เป็นจุดที่สูงสุดในอุทยานฯอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,365 เมตรบริเวณโดยรอบเป็นลานหินที่มีทุ่งหญ้าขึ้นแซมสลับกับป่าสน มีทั้งสนสองใบที่ขึ้นตามธรรมชาติ และสนสามใบที่เป็นสนปลูก จากจุดนี้ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสนักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นแม่น้ำเหืองและแม่น้ำโขงซึ่งเป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทย – ลาวได้ นอกจากนี้ยังมีจุดที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง เช่น ถ้ำหินแตก หินค้างหม้อ หินวัวนอน
หินพานขันหมาก หินพระศิวะ สวนหินเต่า ทุ่งหินเหล็กไฟ ซึ่งหินเหล่านี้มีรูปร่างตามชื่อเรียกตั้งท่ามกลางทุ่งหญ้า ช่วงปลายฝนต้นหนาวมีดอกไม้เล็กๆขึ้นอยู่ทั่วไปน่าชมมาก

สถานที่พัก อุทยานฯ มีบริการบ้านพักไว้สำหรับนักท่องเที่ยวติดต่อขอรายละเอียดและสำรองที่พักล่าวงหน้าได้ที่ที่ทำการอุทยานฯ โทร. 042-807624, 042-801716 ,042-807607หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. 02-5620760 หรือ www.dnp.go.th

การเดินทาง จากตัวเมืองเลยใช้ทางหลวงหมายเลข 203 สาย เลย- ภูเรือ ระยะทางประมาณ 54 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 49-50 ตรงที่ว่าการอำเภอภูเรือเข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร รถยนต์ทั่วไปสามารถขึ้นได้ และมีทางเดินเท้าอีก 700 เมตร ก็จะถึงยอดภูเรือ

เรื่อง การเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน


จากร่องรอยทางโบราณคดีและหลักฐานตำนานต่าง ๆ ทางภาคเหนือ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 ชนชาติไทยได้ตั้งมั่นอยู่แล้วทางภาคเหนือของดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน มีการสร้างเมืองต่าง ๆ ซึ่งปรากฏชื่อในตำนาน เช่น เวียงหิรัญนคร เวียงไชยปราการ เวียงฝาง เป็นต้น เมืองเหล่านี้มีลักษณะการปกครองแบบนครรัฐ

           อย่างไรก็ตาม นอกจากร่องรอยทางโบราณคดีและหลักฐานทางตำนานแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานอื่น ๆ เกี่ยวกับนครรัฐไทยเหล่านี้มากนัก ทำให้เราไม่ทราบความเป็นมา และสภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของนครรัฐไทยในระยะแรก ๆ
           ส่วนหลักฐานที่ปรากฏในจารึกและภาพสลักศิลาของชนชาติอื่น ๆ นั้น จารึกของอาณาจักรจามปา พ.ศ.1593 ณ วิหารโปนาการ์ เมืองญาตรัง ประเทศเวียดนามปัจจุบัน ได้กล่าวถึงพระเจ้าชัยปรเมศวรทรงบูรณะพระปฏิมาเจ้าแม่ภควดีที่วิหารแห่งนี้ และได้ทรงอุทิศทาสเชลยศึกถวายเป็นข้าพระในบรรดาทาสที่อุทิศถวายนี้ มีทาสเชลยศึกชาวสยามอยู่ด้วย
          ในจารึกพม่า ปรากฏคำว่า สยาม” เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.1663 และในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ได้ปรากฏภาพสลักศิลานูนต่ำที่ระเบียงชั้นนอกของปราสาทนครวัด ในเมืองพระนครหลวง ประเทศกัมพูชาปัจจุบัน เป็นภาพกองทัพชาวสยามตามเสด็จขบวนทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1656 – หลัง พ.ศ.1668) พระเจ้าแผ่นดินแห่งอาณาจักรเขมร
            จากหลักฐานต่าง ๆ ข้างต้นทำให้เราทราบว่า ชนชาติไทยได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันเป็นเวลานานหลายร้อยปีก่อนการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย สันนิษฐานว่าชนชาติไทยคงแผ่กระจายอยู่ทั่วไปในอาณาบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และอาจจะลงไปถึงคาบสมุทรภาคใต้ ชนชาติไทยกลุ่มต่าง ๆ นี้คงจะรวมกลุ่มกันเป็นนครรัฐหรือแว่นแคว้นเล็ก ๆ ของตนเอง และคงอยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มชนที่กำลังมีอำนาจอยู่ในแหลมอินโดจีนขณะนั้น คือ ชนชาติมอญ และชนชาติเขมร
           อย่างไรก็ตาม ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 ชนชาติมอญได้เสื่อมอำนาจลง ดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของอาณาจักรเขมรประมาณ 200 ปี แต่ในช่วงเวลา 200 ปีดังกล่าว อำนาจของเขมรไม่คงที่ บางครั้งเข้มแข็ง บางครั้งอ่อนแอ ดังนั้นหลังจากสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 – ราว พ.ศ.1760) อาณาจักรเขมรได้เสื่อมลงมาก ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองและช่องว่างแห่งอำนาจ นครรัฐและแว่นแคว้นของคนไทยจึงพากันตั้งตนขึ้นเป็นอาณาจักรอิสระ ประวัติศาสตร์ไทยที่มีหลักฐานแน่นอนจึงเริ่มขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 นี้